อิชิตัน กำไรพุ่ง 3 ไตรมาสซ้อนหลังตลาดชาฟื้น ไฟเขียวจ่ายปันผล

อิชิตัน รับอานิสงส์ตลาดชาเขียวฟื้น-เทรนด์สุขภาพแรง หนุนรายได้ปี’65 รวม 6.3 พันล้าน พร้อมกำไรทุบสถิติสูงสุดติดต่อกัน 3 ไตรมาสฯ ไฟเขียวอนุมัติจ่ายเงินปันผลอัตราหุ้นละ 0.60 บาท

ธุรกิจ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เผยผลประกอบการปี 2565 มีไฮไลท์เป็นการทำกำไรนิวไฮ 3 ไตรมาสซ้อน โดยเฉพาะไตรมาส 4 ที่มีกำไร 192.9 ล้านบาท สูงกว่าช่วงไตรมาส 2-3 ที่เป็นไฮซีซั่น และปิดรายได้ 2565 ที่ 6,340.4 ล้านบาท เป็นผลจากหลายปัจจัยรวมกันไม่ว่าจะเป็นการฟื้นตัวของตลาดชาเขียวพร้อมดื่ม เทรนด์สุขภาพ และความสำเร็จของสินค้าใหม่อย่าง ตันซันซู

ธุรกิจ อิชิตัน

นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) อธิบายว่า ช่วงที่ผ่านมากำลังซื้อฟื้นตัวทั้งในและต่างประเทศ อย่าง CLMV จากสถานการณ์การแพร่ระบาดคลี่คลาย ผู้บริโภคกลับมาใช้ชีวิตเป็นปกติทั้งการทำงาน การใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และการท่องเที่ยว

เช่นเดียวกับภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องดื่มนอน-แอลกอฮอล์ที่ชาพร้อมดื่มโตสูงสุดเหนือตลาดถึง 22.88% ในขณะที่ตลาดเครื่องดื่มโดยรวมเติบโตเฉลี่ย 6.2%

นอกจากนี้ ความนิยมสินค้าไซส์เล็กราคาประหยัด อาทิ อิชิตัน เย็นเย็น และไบเล่ หนุนให้สินค้ากระจายตัวเข้าถึงร้านค้าแบบดั้งเดิมมากขึ้น ทำให้การเติบโตของช่องทางนี้ของอิชิตันสูงขึ้น 35.67%

รวมถึงช่วยให้อัตรากำลังผลิตของโรงงานอิชิตัน กรีน แฟคทอรี่ ดีขึ้นตามไปด้วยจนปัจจุบันมีกำลังการผลิตเฉลี่ย 75 ล้านขวด/เดือน จนเกิด Economy of Scale ทำให้ต้นทุนการผลิตต่อขวดต่ำลง และความสามารถการทำกำไรได้ดีขึ้น

เมื่อบวกกับกลยุทธ์การพัฒนาสินค้าสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น “Tansansu (ตันซันซู)” โคเรียนโซดา สำหรับเจาะกลุ่ม Gen Z ที่หลงใหลวัฒนธรรม K-POP ซึ่งเพิ่งเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์คนแรก “มาร์ค ต้วน (Mark Tuan) GOT7” ศิลปินเกาหลีระดับอินเตอร์ และ “อิชิตัน 0 แคลอรี พลัส คาเทชิน” ชาสูตรน้ำตาล 0% และ 0 แคลอรี พลัส คาเทชินมารับเทรนด์สุขภาพ

สิ้นค้าใหม่นี้มีส่วนทำให้ไตรมาส 4 อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) แตะ 21% สูงกว่าไตรมาสระดับปกติเฉลี่ยอยู่ที่ 17.5% เป็นแนวโน้มที่ดีแสดงถึงการบริหารต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ

ด้านตลาดต่างประเทศกลับมาฟื้นตัวเช่นกัน ตัวเลขการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ CLMV ส่งสัญญาณบวก จากที่เคยติดลบช่วงโควิด-19 หลังการทำแคมเปญการตลาดต่อเนื่อง และเตรียมขยายช่องทางการจำหน่ายไปยังกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง

ส่วนธุรกิจ ICHITAN OEM SERVICE ปิดดีลจากลูกค้าใหม่รายใหญ่ 2 เจ้า คาดเริ่มผลิตภายในไตรมาส 1/2566 นี้ และยังอยู่ในขั้นตอนเจรจากับบริษัทอีกหลายแห่ง ส่วน อิชิตัน อินโดนีเซีย ผลประกอบการดีเกินคาดจากความสำเร็จในการพัฒนาสินค้าตรงใจผู้บริโภคอินโดนีเซีย จนสามารถรับรู้กำไรกลับมาไทย 82.2 ล้านบาท จากกำไรทั้งหมด 164.4 ล้านบาท ทะลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

กรรมการผู้อำนวยการ อิชิตัน กรุ๊ป กล่าวต่อไปว่า ด้วยเหตุนี้ทำให้ผลประกอบการประจำปี 2565 บริษัทกลับมาท็อปฟอร์ม โดยมีกำไรสุทธิ 641.6 ล้านบาท หรือโตขึ้น 17.3% จากปีก่อนที่ทำได้ 546.8 ล้านบาท รายได้จากการขายรวมอยู่ที่ 6,340.4 ล้านบาท โต 21.3%

และที่สำคัญผลประกอบการไตรมาส 4/2565 ทำสถิติใหม่ เพราะสามารถทำกำไรนิวไฮ 3 ไตรมาสซ้อน ไตรมาส 4 กำไรที่ 192.9 ล้านบาท สูงกว่าไตรมาส 2-3 ซึ่งเป็นไฮซีซั่น

โดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ไฟเขียวอนุมัติจ่ายเงินปันผลประจำปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 0.60 บาทต่อหุ้น โดยกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิในการรับเงินปันผลในวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 และกำหนดจ่ายปันผลในวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 ทั้งนี้ต้องรอพิจารณาจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี ในวันที่ 27 เมษายน 2566

 

เจาะกลยุทธ์ ‘ไทยเบฟ’ รั้งผู้นำ DJSI เครื่องดื่มโลก 5 ปีซ้อน

เจาะกลยุทธ์ ‘ไทยเบฟ’ รั้งผู้นำ DJSI เครื่องดื่มโลก 5 ปีซ้อน

นอกจากมุ่งขับเคลื่อนองค์กร ผลักดันรายได้ และ “กำไร” อีกด้านบริษัทให้ความสำคัญกับแผนพัฒนาอย่างยั่งยืนควบคู่กันด้วย ซึ่งเป้าหมาย PASSION 2025 พันธกิจสำคัญคือการ “สร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าจากการเติบโต” เพื่อให้ธุรกิจแกร่งคู่ความยั่งยืนของโลกการดำเนินธุรกิจพร้อมภารกิจลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โลก ไทยเบฟมุ่งมั่นมาหลายปี และสร้างความสำเร็จจนผ่านด่านจากการเป็นสมาชิกในกลุ่มดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (The Dow Jones Sustainability Indices – DJSI) ซึ่งคว้าคะแนน “สูงสุด” ในหมวดอุตสาหกรรมเครื่องดื่มระดับโลก โดยปี 2565 ถือเป็นการรั้ง “ผู้นำ” ต่อเนื่อง 5 ปีซ้อนเบื้องหลังความสำเร็จ มีอะไรบ้าง และเป้าหมายระยะสั้นปี 2566 บริษัทมีโปรเจคใดต้องทำ รวมถึงระยะยาว 2573 และ 2583 เป็นอย่างไร “ต้องใจ ธนะชานันท์” รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มงานความยั่งยืน บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด(มหาชน) ทำหน้าที่ฉายภาพแบบเจาะลึกย้อนภารกิจความยั่งยืนของไทยเบฟ ไม่ได้เพิ่งเริ่มต้น เพราะหลายกิจกรรม การผลิตสินค้าและบริการ ตระหนักด้านสิ่งแวดล้อม และดูแลสังคม ทำมานานหลายสิบปี ตัวอย่างที่โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ เช่น การใช้บรรจุภัณฑ์ขวดแก้วทั้งจากเบียร์ น้ำดื่ม มา “รีไซเคิล” กว่า 40 ปี จนองค์กรต่างประเทศต้องหันมามอง การแจกผ้าห่มมา 23 ปี เป็นต้น

เจาะกลยุทธ์ ‘ไทยเบฟ’ รั้งผู้นำ DJSI เครื่องดื่มโลก 5 ปีซ้อนอีกหนึ่งในกิจกรรมไฮไลท์ และไทยเบฟ จริงจังมาก คือ “Sustainability Expo” หรือ SX ซึ่งเป็นงานมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในอาเซียน และไทยเบฟ ไม่ได้ทำเพียงลำพัง แต่ผนึกพลังพันธมิตรเล็กใหญ่ มาร่วม ไม่ว่าจะเป็น พีทีที โกลบอล เคมิคอล(GC) เอสซีจี ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป เป็นต้น ที่ขาดไม่ได้ คือผสานพลังกับ ภาคีเครือข่ายธุรกิจห่วงโซ่อุปทานแห่งประเทศไทย (Thailand Supply Chain Network – TSCN) ซึ่งเป็นซัพพลายเออร์ที่ค้าขายเชื่อมโยงกับบริษัทร่วม 2,000 บริษัท มาพลิกโฉมธุรกิจสู่ความยั่งยืน

ธุรกิจ

ทั้งนี้ งาน SX ปี 2565 จัดขึ้นครั้งที่ 3 ความสำเร็จเพื่อสร้างการตระหนักรู้ด้านความยั่งยืน การปฏิบัติอย่างไรเพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมถึงระดับ “ปัจเจกบุคคล” มีผู้เข้าร่วมงานถึง 2.7 แสนรายภายในงาน “ไทยเบฟ” พันธมิตร และเครือข่ายซัพพลายเชน ยังนำเสนอข้อมูลความรู้ผสานความสนุก เพื่อสร้างเอ็นเกจเมนต์ กับกลุ่มเป้าหมาย มีสนามเด็กเล่น ฟู้ดเวสต์ สเตชั่น สอนการแยกขยะเปียก-แห้ง การนำเศษอาหารเหลือไปทำปุ๋ย การรีไซเคิลต่างๆ เกิดผลลัพธ์ คือ มีจำนวนขวด PET หลังการบริโภคที่ทิ้งลงถังคัดแยกและเครื่อง RVM ที่นำมาแลกผ้าห่มผืนเขียวรักษ์โลก 50,867 ขวด น้ำหนักรวม 763 กิโลกรัม(กก.) จำนวนอาหารเหลือทิ้งเข้าสู่กระบวนการทำเป็นปุ๋ย 1,770 กก. ลดปริมาณคาร์บอน 4.5 tCO2e เป็นต้น

“ไทยเบฟจัดมหกรรมด้านความยั่งยืน หรือ SX เพื่อมุ่งสร้างการรับรู้การพัฒนาอย่างยั่งยืนไปสู่ระดับบุคคล และกระตุ้นให้เกิดการลงมือปฏิบัติจริง”

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทยเบฟชัดเจนมาก และการติดทำเนียบ DJSI ติดต่อกัน 5 ปี บริษัทมองเป็นการบ้าน ที่บริษัทต้องนำกลับมา “พัฒนาองค์กร” อย่างต่อเนื่องด้วย

“ทุกครั้งที่ตอบคำถาม เราจะกลับมาหาจุดอ่อน เพื่อทบทวนและพัฒนาตัวเองเพิ่มขึ้น”

ดังนั้น ปี 2566 ไทยเบฟ จึงมีภารกิจใหม่ๆที่จะดำเนินการมากมาย เช่น ขยายขอบเขตประเมินความเสี่ยงสิ่งที่บริษัทดำเนินการจะมีผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพหรือไม่อย่างไร การเก็บข้อมูล นำเทคโนโลยีมาใช้แก้ปัญหาการเก็บบรรจุภัณฑ์กลับคืน เช่น บางพื้นที่ขายเบียร์ น้ำดื่มได้ปริมาณมาก แต่เก็บบรรจุภัณฑ์กลับคืนได้น้อย ต้องหาทางเก็บกลับให้มากขึ้น การใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบเหลือใช้ เช่น เบียร์ เหล้า มีกาก ของเสียจากมอลต์ น้ำตาลนำไปใช้ประโยชน์ผลิตพลังงานชีวภาพหรือไบโอแก๊ส แปรรูปเป็นอาหารสัตว์ ทำปุ๋ย เป็นต้น

นอกจากนี้ ไทยเบฟ ยังนำร่องใช้ “รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้า” หรืออีวี นำร่อง 1 คัน และมีการสร้างสถานีชาร์จภายในโรงงาน และคลังสินค้า รองรับการขนส่งสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่ง คือโรงงานไปยังคลังสินค้า บริษัทยังร่วมมือกับ “เอสซีจี” ในการพัฒนารถบรรทุกพลังงานไฟฟ้า เพื่อให้ต้นทุนต่ำลง รองรับการเปลี่ยนใช้รถยนต์ขนส่งสินค้าในอนาคตด้วย ซึ่งปัจจุบันทั้งรถบรรทุก รถขนส่งสินค้า(cash van) รถฝ่ายขาย ฯ มีจำนวนมากถึงหลัก “พันคัน”